-->
BLOG นี้จัดทำขึ้นโดย นางสาวณิชกานต์ กลีบบัว รหัส 4934408016 เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารธุรกิจ2

25 มีนาคม 2551

**การประชาสัมพันธ์หลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจ**












1. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

1.1 คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาคปกติ 4 ปี => http://www.itbsru.com/pdf/comfull.pdf
1.2 คอมพิวเตอร์ธุรกิจ 2 ปี หลังอนุปริญญา =>
http://www.itbsru.com/pdf/com.pdf


1.1 โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับปริญญาตรี 4ปี

หลักสูตรโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
Bachelor's Degree Program of Business Administration in Business Computerชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม : ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)Bachelor of Business Administration (Business Computer)
ชื่อย่อ : บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)B.B.A. (Business Computer)

จุดประสงค์เฉพาะ

1. เพื่อผลิตบัณฑิตด้านบริหารธุรกิจที่มีความรู้ ความสามารถ ในการบริหารธุรกิจระดับ วิชาชีพ (Professional) และนำไปประกอบอาชีพได้เป็นอย่างดี
2. เพื่อผลิตบัณฑิตด้านบริหารธุรกิจที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางในวิชาชีพ เช่นด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบัญชี การเงินและการธนาคาร การตลาด การบริหารอุตสาหกรรม เลขานุการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การจัดการคุณภาพธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจบริการ สามารถประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีเจตคติที่ดี และทักษะเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาตนเองให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม
4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่สนองความต้องการของตลาดแรงงาน และสอดคล้องตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
5. เพื่อให้บัณฑิตสามารถนำความรู้ไปเป็นแนวทางการศึกษาในระดับสูงต่อไป

โครงสร้างหลักสูตร

มีหน่วยกิตการเรียนตลอดหลักสูตรในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจไม่น้อยกว่า 149 หน่วยกิต และมีสัดส่วนหน่วยกิตแต่ละหมวดวิชาและแต่ละกลุ่มวิชา ดังนี้


1. หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 33 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 9 หน่วยกิต
1500101 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น 3(3-0)
1500102 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น 3(3-0)
1500103 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน 3(3-0)
(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 9 หน่วยกิต
1500104 ความจริงของชีวิต 3(3-0)
2000102 สุรทรียภาพของชีวิต 3(3-0)
2500101 พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน 3(3-0)
(3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ เรียนไม่เกิน 6 หน่วยกิต
2500102 วิถีไทย 3(3-0)
2500103 วิถีโลก 3(3-0)
2500104 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 3(3-0)
(4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9 หน่วยกิต
4000105 วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต 3(3-0)
4000106 การคิดและการตัดสินใจ 3(3-0)
4000107 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต 3(2-2)


2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 106 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาเนื้อหา 84 หน่วยกิต
บังคับเรียน 47 หน่วยกิต
1541203 ภาษาไทยธุรกิจ 3(3-0)
1551605 ภาษาอังกฤษธุรกิจ 1 3(3-0)
1551606 ภาษาอังกฤษธุรกิจ 2 3(3-0)
2562302 กฎหมายธุรกิจ 3(3-0)
3503901 การวิจัยทางธุรกิจ 3(2-2)
3504101 จริยธรรมทางธุรกิจ 3(3-0)
3521101 การบัญชี 1 3(2-2)
3521102 การบัญชี 2 3(2-2)
3531101 การเงินธุรกิจ 3(3-0)
3541101 หลักการตลาด 3(3-0)
3562402 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ 3(3-0)
3564201 การจัดการเชิงกลยุทธ์ 2(2-0)
3592101 เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1 3(3-0)
3592102 เศรษฐศาสตร์มหภาค 1 3(3-0)
3593301 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ 3(3-0)
4112105 สถิติธุรกิจ 3(3-0)(2)
(2)แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 37 หน่วยกิต
2.1 บังคับเรียน 18 หน่วยกิต
3503201 การจัดระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4121103 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอัลกอริทึ่ม 3(2-2)
4121202 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 3(2-2)
4122201 ฐานข้อมูลเบื้องต้น 3(2-2)
4122202 โครงสร้างข้อมูล 3(2-2)
4122502 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 1 3(2-2)
2.2 เลือกเรียน ให้เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า 19 หน่วยกิต [เรียน 7 วิชา]
3501201 การใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่องานเอกสารธุรกิจ 1 3(2-2)
3501202 การใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่องานเอกสารธุรกิจ 2 3(2-2)
3502201 ระบบสารสนเทศเพื่อการดำเนินงาน 3(2-2)
3503202 การจัดการงานเลขานุการและธุรการด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3503203 การประมวลผลการวิจัยทางธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3504201 การจัดการของคงคลังด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3504202 การวางระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3504203 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 3(2-2)
3504204 ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร 3(2-2)
3534106 โปรแกรมประยุกต์ทางการเงิน 3(3-0)
3562104 การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3563204 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 3(3-0)
3564908 สัมมนาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 3(2-2)
4091606 คณิตศาสตร์สำหรับคอมพิวเตอร์ 3(3-0)
4121301 โปรแกรมภาษาเบสิก 1 3(2-2)
4121302 โปรแกรมภาษาโคบอล 1 3(2-2)
34121401 ระบบปฎิบัติการ 1 3(2-2)
4122203 การประมวลผลแฟ้มข้อมูล 3(2-2)
4122304 โปรแกรมภาษาซี 3(2-2)
4122401 ภาษาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4122602 โปรแกรมประยุกต์ด้านการจัดการสำนักงานอัตโนมัติ 3(2-2)
4122603 คอมพิวเตอร์กราฟิก 3(2-2)
4122606 โปรแกรมประยุกต์ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร 3(2-2)
4122701 ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม 3(2-2)
4123303 โปรแกรมภาษาปาสคาล 2 3(2-2)
4123304 โปรแกรมภาษาแอสเซมบลี 3(2-2)
4123601 โปรแกรมประยุกต์ด้านสถิติและวิจัย 3(2-2)
4123603 โปรแกรมประยุกต์ด้านการเงินและการบัญชี 3(2-2)
4123604 โปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า 3(2-2)
4123605 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานทะเบียนบุคคลและการจ่ายเงินเดือน 3(2-2)
4123611 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการธนาคาร 3(2-2)
4123615 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานธุรการ 3(2-2)
4123612 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3(2-2)
4123607 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ 3(2-2)
4123613 คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ 3(2-2)
4123617 การประยุกต์ใช้งานมัลติมีเดีย 3(2-2)
4123903 หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4124501 ปัญญาประดิษฐ์ 3(2-2)
(3) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการบังคับเรียน 15 หน่วยกิต
3532202 การภาษีอากรธุรกิจ 3(3-0)
3543101 การบริหารการตลาด 3(3-0)
3561101 องค์การและการจัดการ 3(3-0)
3562307 การบริหารการผลิต 3(3-0)
3524301 การบัญชีเพื่อการจัดการ 3(3-0)
(4) กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 7 หน่วยกิต
3503813 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารธุรกิจ 3 2(90)
3504804 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารธุรกิจ 3 5(350)

3. หมวดวิชาเลือกเสรี 10 หน่วยกิต ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรของโปรแกรมวิชา



โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)

หลักสูตรโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
Bachelor of Business Administration Program in Business Computerชื่อ ปริญญา
ชื่อเต็ม : ปริญญาการบริหารธุรกิจบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)Bachelor of Business Administration (Business Computer)ชื่อย่อ : บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)B.B.A. (Business Computer)

จุดประสงค์เฉพาะ

1. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารธุรกิจระดับวิชาชีพ (Professional) ในวิชาบริหารธุรกิจเฉพาะทาง ในวิชาการด้านต่าง ๆ ที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบเศรษฐกิจและสังคม สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อผลิตบุคลากรที่สามารถติดตามและปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีฯ และการบริหารธุรกิจในงานอาชีพ
4. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีเจตคติและค่านิยมในการประกอบอาชีพอิสระอย่างมีคุณภาพ จริยธรรม และปัญญาธรรม

โครงสร้างหลักสูตร

มีหน่วยกิตการเรียนตลอดหลักสูตรในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจไม่น้อยกว่า 73 หน่วยกิต และมีสัดส่วนหน่วยกิต แต่ละหมวดวิชาและแต่ละกลุ่มวิชา ดังนี้
1. หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 18 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 3 หน่วยกิต
1500103 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน 3(3-0)
(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
2500101 พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน 3(3-0)
2000101 สุนทรียภาพของชีวิต 3(3-0)
(3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
2500103 วิถีโลก 3(3-0)และ/หรือ2500104 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 3(3-0)
(4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
4000102 การคิดและการตัดสินใจ 3(2-2)และ/หรือ4000108 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ 3(2-2)
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน (แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ) 49 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาเนื้อหา 35 หน่วยกิต
1.1 บังคับเรียน 24 หน่วยกิต
1551606 ภาษาอังกฤษธุรกิจ 2 3(3-0)
3503901 การวิจัยทางธุรกิจ 3(2-2)
3504101 จริยธรรมทางธุรกิจ 3(3-0)
3564201 การจัดการเชิงกลยุทธ์ 3(3-0)
3593301 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ 3(3-0)
3503201 การจัดระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4122502 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 1 3(2-2)
4121202 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 3(2-2)
1.2 เลือกเรียน ให้เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
3503202 การจัดการงานเลขานุการและธุรการด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3503203 การประมวลผลการวิจัยทางธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3504201 การจัดการของคงคลังด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3504202 การวางระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3562104 การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
35694908 การสัมมนาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4091606 คณิตศาสตร์สำหรับคอมพิวเตอร์ 3(3-0)
4121103 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอัลกอริทึ่ม 3(2-2)
4121301 โปรแกรมภาษาเบสิก 1 3(2-2)
4121302 โปรแกรมภาษาโคบอล 1 3(2-2)
4122201 ฐานข้อมูลเบื้องต้น 3(2-2)
4122202 โครงสร้างข้อมูล 3(2-2)
4122203 การประมวลผลแฟ้มข้อมูล 3(2-2)
4122401 ภาษาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4122602 โปรแกรมประยุกต์ด้านการจัดการสำนักงานอัตโนมัติ 3(2-2)
4122603 คอมพิวเตอร์กราฟิก 3(2-2)
4122606 โปรแกรมประยุกต์ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร 3(2-2)
4122701 ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม 3(2-2)
4123601 โปรแกรมประยุกต์ด้านสถิติและวิจัย 1 3(2-2)
4123603 โปรแกรมประยุกต์ด้านการเงินและการบัญชี 3(2-2)
4123604 โปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า 3(2-2)
4123605 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานทะเบียนบุคคลและการจ่ายเงินเดือน 3(2-2)
4123607 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ 3(2-2)
4123611 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการธนาคาร 3(2-2)
4123612 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3(2-2)
4123613 คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ 3(2-2)
4123615 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานธุรการ 3(2-2)
4123619 การประยุกต์ใช้มัลติมีเดีย 3(2-2)
4123702 ระบบการสื่อสารข้อมูล 3(2-2)
4123903 หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4124501 ปัญญาประดิษฐ์ 3(2-2)

ข้อกำหนดเฉพาะ

1) ในกรณีเคยเรียนรายวิชาบังคับในระดับอนุปริญญาตามหลักสูตรของสถาบันราชภัฏแล้วให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจตาม 1.2 แทน
2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชาต่อไปนี้
3592101 เศรษฐศาสตร์จุลภาค
1 3592102 เศรษฐศาสตร์มหภาค
13521101 การบัญชี 1
3521102 การบัญชี
24112105 สถิติธุรกิจ
3531101 การเงินธุรกิจ
3541101 หลักการตลาดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวม ในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
3) สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ใน ข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน

(2) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการบังคับเรียน 9 หน่วยกิต
3524301 การบัญชีเพื่อการจัดการ 3(3-0)
3543101 การบริหารการตลาด 3(3-0)
3562307 การบริหารการผลิต 3(3-0)

ข้อกำหนดเฉพาะ

1) ผู้ที่เรียนแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจในระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) ต้องผ่านการศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชา 3561101 องค์การและการจัดการ และ 3532202 การภาษีอากรธุรกิจ ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์กาสำเร็จการศึกษา
3) สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ในข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน
4) กรณีที่เคยเรียนรายวิชาบังคับของกลุ่มวิทยาการจัดการมาแล้วในระดับอนุปริญญา ให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่กำหนดไว้ใน 1.2 แทน

(3) กลุ่มวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์และฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5 หน่วยกิต
3503811 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 2(90)
3504808 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 3(210)

3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมเป็นเกณฑ์ในการสำเร็จหลักสูตรของโปรแกรมวิชานี







ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศมีทั้งหมด 6 ห้อง โดยมีการปรับปรุงทางด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ให้เป็นปัจจุบันและทันสมัยเสมอ และ มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกทั้งกับผู้เรียนและผู้สอนอย่างครบครัน และทุกห้องสามารถเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อการสืบค้นข้อมูลและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารได้โดยสะดวก








ที่มา : 1. www.bsru.ac.th/bsru_thai/picture/head.jpg

18 มีนาคม 2551

*´¨`*การทำจดหมายเวียน (Mail Merge)*´¨`*

การทำจดหมายเวียน (Mail Merge)

จดหมายเวียน คือ จดหมายทีมีข้อความเติมซ้ำๆ กันทุกๆ ฉบับจดหมายแต่ละฉบับแตกต่างเฉพาะบางส่วนของจดหมาย เท่านั้น ตัวอย่างจดหมายประเภทนี้ ได้แก่ จดหมายเชิญตัวแทนจำหน่ายสินค้ามาประชุมที่สำนักงานใหญ่ จดหมายนี้จะมีข้อความ เชื้อเชิญมาประชุมเหมือนกันทุกฉบับ แต่ละฉบับจะแตกต่างกันเพียงชื่อและ ที่อยู่เท่านั้น ลองคำนวณดูว่าถ้าคุณมีตัวแทน 300 คน คุณต้องแก้จดหมายในที่เดิมๆ มากมายเพียงใด




เริ่มต้นกับจดหมายเวียน
การใช้ Microsoft Word ปัญหาการทำงานที่ซ้ำซ้อนดังกล่าวอาจทำได้ง่ายขึ้น โดยคุณสร้างจดหมายที่มีข้อความจะใช้ ร่วมกัน ไว้ก่อน จากนั้นก็กำหนดให้ Word ใส่ข้อความที่แตกต่างกันนั้นโดยอัตโนมัติ วิธีดังกล่าวมีขั้นตอนดังนี้
เริ่มแรกด้วยการสร้างเนื้อความในจดหมาย ขั้นตอนแรกของการทำจดหมายเวียน ก็คือ การจัดทำตัวจดหมายที่มีข้อความที่จะใช่ร่วมกัน เราเรียกจดหมายนี้ว่า เอกสารหลัก โดยคุณต้องเว้นที่ว่างไว้สำหรับใส่ชื่อ ที่อยู่ หรือข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นของผู้รับ ต่อจากนั้นก็ให้ Save จดหมายนี้เก็บไว้เพื่อไว้ใช้ใน คราวต่อๆ ไปสร้างตารางข้อมูลของผู้รับจดหมาย




การเตรียมแฟ้มจดหมาย

การสร้างตารางข้อมูลของผู้รับจดหมาย ขั้นตอนที่สองที่คุณต้องทำก็คือ การเก็บข้อมูลต่างๆ ของผู้รับจดหมาย เช่น ชื่อ ที่อยู่ ตำแหน่ง บริษัท ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ จะถูกเก็บในลักษณะ เป็นแบบฐานข้อมูลที่เราเรียกว่า แหล่งเก็บข้อมูล คือ คุณสามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้ทุกเมื่อตามต้องการ วิธีการสร้างตารางเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ทำได้ดังนี้1 เลือกคำสั่ง เครื่องมือ => จดหมายเวียน จะปรากฎ กรอบโต้ตอบตัวช่วยเหลือจดหมายเวียน2 คลิกเมาส์ สร้าง => จากจดหมาย 3 คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม หน้าต่างที่ใช้งานอยู่ เพื่อกำหนดว่าจะสร้างจดหมายเวียนจากจดหมายฉบับที่คุณกำลังเปิดอยู่นี้4 คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม รับข้อมูล => สร้างแหล่งข้อมูล จะปรากฎกรอบโต้ตอบขึ้นมา5 เลือกหัวข้อเขตข้อมูล ที่จะใช้ในตารางข้อมูล โดยดูหัวข้อรายการจาก ชื่อเขตข้อมูลในบรรทัดนำ โดยสามารถกำหนดดังนี้ - ถ้าหัวข้อใดไม่ต้องการ ให้ คลิกเมาส์ เลือกหัวข้อนั้น แล้วคลิกเมาส์ ที่ปุ่ม เอาชื่อเขตข้อมูลออก - ถ้าต้องการเพิ่มหัวข้อลงในรายการ ให้กรอกหัวข้อใหม่ในกรอบชื่อเขตข้อมูล : จากนั้นใหคลิกเมาส์ ที่ปุ่ม เพิ่มชื่อเขตข้อมูล6 เมื่อทำการกำหนดเรียบร้อยให้คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม ตกลง7 ตั้งชื่อไฟล์และกำหนดตำแหน่งสำหรับ save ตารางฐานข้อมูล8 คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม save ก็จะปรากฎกรอบโต้ตอบ 9 คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม แก้ไขแหล่งข้อมูล ก็จะปรากฎรูปแบบการกรอกข้อมูลขึ้นมาเพื่อจะใส่ข้อมูลของผู้รับจดหมาย ในตารางฐานข้อมูล






การเตรียมแฟ้มข้อมูล













การทำจดหมายเวียนที่มีแฟ้มจดหมายและแฟ้มข้อมูลแล้ว

การรวมจดหมายเวียนเข้ากับข้อมูลสามารถทำใหม่ได้ทุกครั้งที่ต้อง ถ้ามีแฟ้มจดหมายและแฟ้มข้อมูลที่เคยสร้างด้วยโปรแกรม จดหมายเวียนอยู่แล้ว เพียงแต่เปิดแฟ้มจดหมาย ก็จะสามารถทำการรวมจดหมายในขั้นตอน ใส่เขตข้อมูลได้เลย

การพิมพ์ข้อมูลเพิ่มในแฟ้มข้อมูล

การพิมพ์ข้อมูลเพิ่มในแฟ้มข้อมูล สามารถทำได้ดังนี้ 1. เปิดแฟ้มเอกสารหรือแฟ้มจดหมาย 2. คลิกคำสั่ง เครื่องมือ => จดหมายเวียน 3. คลิกคำสั่ง รับข้อมูล => เปิดแหล่งข้อมูล 4. เลือกแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ 5. คลิกคำสั่ง แก้ไข 6. คลิกชื่อแฟ้มที่ปรากฎ จะปรากฎกรอบโต้ตอบ ฟอร์ม ว่างขึ้นมาให้ทำการพิมพ์ข้อมุลเพิ่ม แต่ถ้าต้องการแก้ไขข้อมูลที่มีอยู่แล้วเดิมให้คลิกปุ่มลูกศรถอยหลัง หรือเดิมหน้าทีละระเบียน หรือเดิมหน้าไปยังระเบียนแรกของแฟ้ม หรือถอยหลังไปยังระเบียนสุดท้ายของแฟ้ม 7. คลิก คำสั่ง OK






การใส่ชื่อเขตข้อมูล

การใส่ชื่อเขตข้อมูลลงในตารางฐานข้อมูล1 กรอกข้อมูลต่างๆ ของผู้รับโดยต้องกรอกให้ตรงกับหัวข้อที่คุณได้กำหนดไว้2 เมื่อกรอกข้อมูลของคนแรกเรียบร้อยให้คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม เพิ่มใหม่ สำหรับจะกรอกข้อมูลของคนต่อไป3 เมื่อกรอกข้อมูลครบทุกคนแล้วให้คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม ตกลง



การใส่ชื่อเขตข้อมูลลงเอกสาร

กำหนดตำแหน่งที่จะใส่ข้อมูลในจดหมาย1 คลิกเมาส์ ในตำแหน่งที่จะใส่ข้อมูลในจดหมาย2 คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม แทรกเขตข้อมูลผสาน จะปรากฎหัวข้อที่กำหนดได้ในตารางฐานข้อมูล3 คลิกเมาส์ เลือกหัวข้อ คือ จะเป็นการแทรกชื่อ หรือข้อมูลต่างๆที่เราจะเลือกใส่ จะปรากฎหัวข้อที่คุณเลือกในจดหมาย4 ทำข้อ 2 และ 3 ซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะกำหนดหัวข้อ ที่ต้องการเรียบร้อย



ทำการทดสอบผลลัพธ์การสร้างจดหมายเวียนคุณสามารถทดสอบว่าผลลัพธ์นั้นถูกต้องตามที่คุณต้องการหรือไม่ โดยจะมีเมนูในการทำงาน ดังนี้1 คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม เพื่อกำหนดให้แสดงผลลัพธ์2 ตรวจสอบผลลัพธ์ในจดหมายฉบับแรก3 คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม สำหรับตรวจดูจดหมายฉบับต่อๆ ไป


ใส่ข้อมูลของผู้รับในจดหมาย เมื่อผลลัพธ์ที่ได้ถูกต้องเป็นที่น่าพอใจแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะกำหนดสิ่งต่างๆ ลงในจดหมายเวียนของคุณ โดยคุณสามารถเลือกว่า จะให้เก็บผลลัพธ์ที่ได้นั้นใส่ลงในเอกสารฉบับใหม่ หรือกำหนดให้พิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เลยทันที ส่วนตัวแล้วมักจะใช้วิธีแรก มากกว่า คือ จะเก็บผลลัพธ์ไว้ เพราะสามารถแก้ไขในรายละเอียดบางจุดของจดหมายในแต่ละฉบับได้ การผลิตจดหมายเวียนทำได้ดังนี้1 คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม จะปรากฎกรอบโต้ตอบ การผสาน2 กำหนดว่าจะให้เก็บผลลัพธ์ของจดหมายเวียนนี้ไปไว้ที่ใด โดยคลิกเมาส์ ที่ New document (สร้างเอกสาร) - ถ้าเลือก New document คือการเก็บที่เอกสารฉบับใหม่ - ถ้าเลือก Printer คือการสั่งพิมพ์ผลลัพธ์ออกทางเครื่องพิมพ์ทันที3 เลือกว่าจะให้ดึงข้อมูลจากตารางฐานข้อมูลใดบ้าง ดังนี้ - คลิกเมาส์ เลือก all (ทั้งหมด) คือจะดึงข้อมูลจากตารางฐานข้อมูลมาทั้งหมด - คลิกเมาส์ เลือก from (จาก) คือ คุณจะเป็นผู้กำหนดช่วงของการดึงข้อมูล จากนั้นคุณต้องกำหนดว่าจะดึงข้อมูลลำดับที่เท่าใด ในฐานข้อมูลด้วย4 คลิกเมาส ที่ปุ่ม ผสาน (ถ้าคุณเลือก New document คุณจะเห็นผลลัพธ์ที่ได้ในเอกสารฉบับใหม่ทันที) ก็จะได้ผลลัพธ์ก็คือ เห็นข้อมูลของผู้รับจดหมายทั้งหมดที่จะส่งออกทางจอของคุณ


11 มีนาคม 2551

..'๐'-ประวัติคนน่ารัก-'๐'..

ประวัติส่วนตัว





ชื่อ-นามสกุล : นางสาวณิชกานต์ กลีบบัว
ชื่อเล่น : จีจี้
ลืมตาดูโลก : 31 มีนาคม 2528
เบอร์โทร : 085-8147323 , 083-5452379
ที่อยู่ : 222/3 ถ.สาธุประดิษฐ์ แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กทม. 10120
สีที่ชอบ : สีชมพู, สีดำ, สีขาว

06 มีนาคม 2551

*´¨`*การสร้าง Blog ด้วย Blogger*´¨`*

หลังจากที่เราตัดสินใจเลือกเนื้อหา หรือเรื่องราวที่จะนำมาใส่ในบล็อกของเราได้อย่างครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการสร้าง Blog เพื่อนำโฆษณามาติดกันได้เลย ในที่นี้ก็ขอแนะนำ ผู้ให้บริการฟรีเว็บบล็อกซึ่งก็คือ Blogger ซึ่งเป็นของ Google นั่นเอง แต่ก่อนที่เราจะสมัครนั้น
มีข้อแนะนำประการแรกที่ควรทำคือ การใช้งาน Blog ของ Blogger นั้น ควรใช้กับ Browser ของ Firefox ซึ่ง ค่อนข้างจำเป็นเลยที่เดียว เพราะหากใช้งานกับ IE หรือ Opera แล้ว จะพบปัญหามากมาย
เกี่ยวกับ Fontและ Layout ของหน้าบล็อกของเรา
ดังนั้นจึงควรเข้าไป Download Firefox มาติดตั้งเสียก่อน
โดยเข้าไป Download ได้ตามลิงค์ด้านล่าง
และสิ่งที่ต้องทำขั้นต่อไปคือ เราจำเป็นต้องมี E-mail ที่เป็นของ Google ก็คือ
ผู้ให้บริการฟรีอีเมล์ Gmail นั่นเอง
เพราะการใช้งาน Blog ของ Blogger นั้น จำเป็นต้อง.ใช้ Email Account ของ Gmail ในการ สมัคร ฺทำบล็อก โดยสามารถเข้าไปสมัครได้ฟรีตามลิงค์ http://www.gmail.com/ เมื่อเข้าไปที่หน้าเว็บ แล้วคลิก
Sign up for Gmail เพื่อเข้าสู่หน้าลงทะเบียนสร้าง Account และกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนในหน้า Create Account เพียงหน้าเดียวก็จะได้รับ Account Gmail ทันที และเราก็สามารถนำ Account นี้ไปสมัครสร้าง Blog เป็นของตัวเองได้แล้ว
เนื่องจากปัจจุบัน Blogger ของ Google ได้พัฒนาหน้าเว็บให้เป็นภาษาไทยเรียบร้อยแล้ว ทำให้เราสามารถสร้างเว็บบล็อกของเราได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น แล้วก็เข้าสู้หน้ารับสมัครได้เลยตามลิงค์ http://www.blogger.com/ เมื่อเข้าสู่หน้าเว็บของ Blogger เรียบร้อยแล้วจะปรากฎตามภาพด้านล่าง ให้เรานำEmail Account ของ Gmail ที่สมัครมาก่อนหน้านี้ใส่ลงไปที่ ชื่อผู้ใช้ ตรงส่วน ลงชื่อเข้าใช้งานได้เลย




เมื่อ Login ด้วย Email account ของ Gmail เรียบร้อยแล้วก็จะเข้าสู่หน้าเว็บที่เรียกว่าแผงควบคุม
ตามภาพด้านล่าง แล้วให้คลิกที่คำว่า "สร้างบล็อก" ได้ทันที




เมื่อคลิกที่สร้างบล็อกเสร็จก็จะเข้ามาการตั้งชื่อ เว็บบล็อก ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
โดยที่ในส่วนนี้จะให้เรา กรอกชื่อเว็บไซด์ และ Blog Address(URL) ซึ่งเป็นส่วนที่จะกำหนด
อนาคตของเวบไซด์ของเราได้เลยที่เดียว สำหรับชื่อเว็บไซด์นั้นให้เราเลือกใช้คำที่เกี่ยวข้้องกับ
เนื้อหาที่อยู่ในเว็บบล็อกของเรา ตัวอย่างเช่น เราต้องการทำบล็อกเกี่ยวกับ PowerPoint
เราก็อาจจะเลือกคำ เช่น PowerPoint Presentation หรือ Thai PowerPoint มาใช้เป็นชื่อ
บล็อก เป็นต้น นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ได้ทั้ง ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ โดยใช้สัญลักษณ์
" " คั่นกลาง เช่น "PowerPoint Presentationการนำเสนอด้วยพาวเวอร์พ้อยท์" เป็นต้น
และที่สำคัญก็คือ ชื่อเว็บของเราจะมีผลโดยตรงต่อการค้นหาด้วย search engine ซึ่งถ้าเราเลือกใช้คำไม่เหมาะสม ก็อาจจะไม่มีใครเข้ามาดู เว็บบล็อกของเราเลยก็เป็นได
ดังนั้นก็ขอให้เราเลือกใช้คำที่เหมาะสมซึ่งมีวิธีการค้นหาคำที่น่าสนใจอยู่หลายวิธี สามารถ
เข้าไปศึกษาได้ที่หัวข้อ ++เตรียมพร้อมก่อนการเป็น Publisher กับ Bidvertiser++
++TIP: ชื่อเว็บบล็อกสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามที่เราต้องการ++
++TIP: ชื่อของเว็บบล็อกจะปรากฎที่ด้านบนบริเวณ Title Bar ของ Browser เมื่อเปิดเข้าสู่เว็บบล็อก++



และอีกส่วนที่มีความสำคัญก็คือ Blog Address หรือ ที่อยู่ที่ใช้ในการเปิดเว็บบล็อกนั่นเอง
ซึ่งสำหรับ Blogger ชื่อ Address จะเป็น http://xxxxxx.bogspot.com
โดยในส่วนนี้เราจำเป็นต้องตรวจสอบหาชื่อที่ไม่ซ้ำกับคนอื่น ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยคลิกที่คำว่า
"ตรวจสอบความพร้อมการใช้งาน" ซึ่งถ้าชื่อที่เราตั้งยังไม่มีคนใช้ก็จะึ้นคำว่า " ที่อยู่บล็อกนี้สามารถใช้งานได้" ปรากฎอยู่ที่ด้านล่าง นั่นแสดงว่าเราสามารถใช้ชื่อนี้ได้เลย และที่หน้าเว็บของการตั้งชื่อ เว็บบล็อกนี่เอง ซึ่งเราอาจจำเป็นต้องใช้คำที่
ไม่ใช้คำยอดนิยมเพราะคำเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีคนใช้อยู่ก่อนแล้วก็ลองเลือกดูคำที่ใกล้เคียงและมี Keyword ที่เกี่ยวข้องกับบล็อกของเราก็ได้ ซึ่งเรื่องการค้นหา Keyword ที่เป็นที่นิยมนั้น ก็สามารถเข้าไปศึกษาได้ที่หัวข้อ++เตรียมพร้อมก่อนการเป็น Publisher กับ Bidvertiser++ เช่นกัน





หลังจากที่เราลงทะเบียนตั้งชื่อเว็บบล็อกเรียบร้อยแล้ว คลิกที่ "ทำต่อ"
เราก็จะเข้าสู่หน้าเว็บที่ใช้เลือกเทมเพลทหรือ เลือกแม่แบบของเว็บบล้อก
ของเรานั่นเอง ตามภาพด้านล่าง




โดยในหน้านี้จะมีเทมเพลทให้เลือกอยู่พอสมควร ก็ลองเลื่อนลงมาดู
ที่ด้านล่าง แต่ขอแนะนำให้เลือกแม่แบบที่ชื่อว่า Sand Dollar นะครับ ซึ่งอยู่
อันสุดท้ายของหน้าเลย โดยจะมีลักษณะตามรูปด้านล่าง เหตุผลที่ให้เลือกเพราะ
เป็นแม่แบบที่ใช้งานได้เต็มหน้าเว็บ (บางอันจะใช้งานได้ไม่เต็มหน้า คือมีส่่วนที่เป็นขอบด้วย)
ซึ่งอันที่ใช้งานได้ไม่เต็มหน้าเว็บ จะมีปัญหามากเวลาพิมพ์ภาษาไทยนะครับ
และอีกอย่างก็คือเราสามารถปรับแต่ง HTML code เพื่อจัดองค์ประกอบของหน้าได้ง่าย
กว่าแม่แบบอันอื่นนะครับ (หลังจากนี้จะมีการบอกเทคนิควิธีการจัดแต่งองค์ประกอบของหน้า
ด้วย HTML code ให้ตอนหลังนะครับ )




เมื่อคลิกเลือกแม่แบบเสร็จก็ คลิกคำว่า"ทำต่อ" ก็จะเข้าสู่หน้าสร้างบทความใหม่
ตามรูปด้านล่าง



ในครั้งแรกที่เข้ามาในหน้าสร้างบทความใหม่ เราอาจยังไม่มีหรือ
ไม่ต้องการสร้างบทความในตอนน ก็ให้เราคลิกที่คำว่า "ดูบล็อก "
เพื่อเข้าไปที่หน้า บล็อกของเราได้เลย



เมื่อคลิกที่คำว่า ดูบล็อก แล้วก็จะเข้ามาที่หน้าบล็อกซึ่งยังไม่มีข้อมูลอะไร
โดยเราสามารถเพิ่มบทความใหม่ แลั ปรับแต่งตั้งค่าบล็อกได้ โดยคลิกที่
"บทความใหม่" หรือ คำว่า "ปรับแต่ง" ที่อยู่มุมบนขวาของหน้า แล้วก็ทำการตั้งค่า ต่างๆ
ได้ตามความพอใจ